ข่าวประชาสัมพันธ์
คุมเข้ม งานวิจัยแล้ง

คุมเข้ม งานวิจัยแล้ง

วันที่ 26 – 28 มิถุนายน 2567 ดร.สุรางค์ศรี วาเพชร ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นางสิริลักษณ์ น้อยเคียง ผู้อำนวยการกลุ่มเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ และทีมนักวิจัยกรมส่งเสริมการเกษตร ลงพื้นที่ติดตามนิเทศงาน “โครงการประเมินพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งและความเสียหายของพืชเกษตรรายแปลง ด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ระยะที่ 2”  ณ จังหวัดอุทัยธานี และจังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อชี้แจงผลการดำเนินโครงการฯ เพื่อร่วมวางแผน ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัด และเกษตรอำเภอ ให้เป็นไปตามแผน มีความถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และเกษตรกรได้รับประโยชน์สูงสุด

  1. โดยวันที่ 26 มิถุนายน  2567 ดร.สุรางค์ศรี วาเพชร ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ติดตามนิเทศงานด้านสารสนเทศการเกษตรของจังหวัดอุทัยธานี โดยมีนายเสน่ห์ แสงคำ เกษตรจังหวัดอุทัยธานี หัวหน้ากลุ่ม/ฝ่าย เกษตรอำเภอทุกอำเภอ และเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดอุทัยธานี จำนวน 30 ราย เข้าร่วม ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลคอกควาย อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี เพื่อรับฟังปัญหาการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศที่ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารดูแล สถานการณ์ภัยพิบัติด้านพืชที่เกิดขึ้นในจังหวัดอุทัยธานี พร้อมแนะนำการอ่านข้อมูลและใช้งานเว็บ cropsdrought สำหรับติดตามข้อมูลเพื่อการเฝ้าระวังพื้นที่เกษตรที่เสี่ยงต่อความแห้งแล้งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝน (ฝนทิ้งช่วง)
  2. วันที่ 27 มิถุนายน 2567 ดร.สุรางค์ศรี วาเพชรผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมด้วยทีมนักวิจัยและผู้ช่วยนักวิจัยจากศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และสำนักงานเกษตรจังหวัดอุทัยธานี ลงพื้นที่แนะนำการใช้เครื่องมือตรวจวัดความชื้นในดินแบบพกพา ในแปลงเกษตร 4 ชนิดพืช ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน และมันสำปะหลังโรงงาน เพื่อตรวจสอบความแม่นยำของค่าดัชนีเสี่ยงภัยแล้ง (DRI) ค่าดัชนีพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งต่อเนื่อง (DSI) และค่าดัชนีประเมินความเสียหายของพืช (CDAI) ที่ได้จากการวิจัยในโครงการ ณ อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี

และเดินทางไปติดตามนิเทศงานด้านสารสนเทศการเกษตรของจังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีหัวหน้ากลุ่ม/ฝ่าย เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงาน สำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี และผู้ช่วยนักวิจัย สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2 จังหวัดราชบุรี จำนวน 18 ราย เข้าร่วม ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อรับฟังปัญหาการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศที่ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารดูแล สถานการณ์ภัยพิบัติด้านพืชที่เกิดขึ้นในจังหวัดสุพรรณบุรี พร้อมแนะนำการอ่านข้อมูลและใช้งานเว็บ cropsdrought สำหรับติดตามข้อมูลเพื่อการเฝ้าระวังพื้นที่เกษตรที่เสี่ยงต่อความแห้งแล้งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝน (ฝนทิ้งช่วง)

3. และวันที่ 28 มิถุนายน 2567 ดร.สุรางค์ศรี วาเพชรผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมด้วยทีมนักวิจัยและผู้ช่วยนักวิจัยจากศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2 จังหวัดราชบุรี และสำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี ลงพื้นที่แนะนำการใช้เครื่องมือตรวจวัดความชื้นนดินแบบพกพา ในแปลงเกษตร 4 ชนิดพืช ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน และมันสำปะหลังโรงงาน เพื่อตรวจสอบความแม่นยำของค่าดัชนีเสี่ยงภัยแล้ง (DRI) ค่าดัชนีพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งต่อเนื่อง (DSI) และค่าดัชนีประเมินความเสียหายของพืช (CDAI) ที่ได้จากการวิจัยในโครงการ ณ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี

Skip to content