ประวัติส่วนตัว นางสมยศ  งาหอม

ชื่อ-สกุล : นางสมยศ  งาหอม  อายุ 43 ปี
ดำรงตำแหน่ง : ประธานกลุ่มแปลงใหญ่พริกบ้านจานลาน ตำบลจานลาน อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ 
การศึกษา :  มัธยมศึกษาปีที่ 6

1. ดิจิทัลเทคโนโลยีและนวัตกรรม : มีการวิจัยพัฒนาหรือประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการรูปแบบใหม่ที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมทางธุรกิจหรือบริการ
นางสมยศ งาหอม มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำการเกษตรแบบดั่งเดิม มาใช้เทคโนโลยีนวัตกรรม เพื่อเพิ่มรายได้ ลดเวลาทำงาน ลดต้นทุนแรงงาน เพิ่มผลผลิต และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าด้านเกษตร โดยนำสมาชิกแปลงใหญ่ ดำเนินกิจกรรมดังนี้
1.1 ปลูกพริกในโรงเรือนพร้อมระบบน้ำเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต ณ ปัจจุบันมีโรงเรือนของสมาชิกเครือข่าย จำนวน 30 หลัง จากงบโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด
1.2 สร้างมูลค่าด้วยการผลิตพริกแห้งโดยโรงเรือนพลังงานแสงอาทิตย์
1.3 ปลูกผักในโรงเรือนอัจฉริยะ ควบคุมโดย Smart Phone : ดำเนินการปลูกผักตามความต้องการของตลาด เพาะต้นกล้าผัก

2. อัตราการเติบโต : ธุรกิจมีการเจริญเติบโตแบบก้าวกระโดด หรือมีแนวโน้มในการเจริญเติบโตสูง โดยวัดจากการเติบโตของรายได้ หรือการเพิ่มขึ้นของจำนวนฐานลูกค้าหรือผู้ใช้งาน (Traction) หรือความสำเร็จจากการระดมทุน
หลังจากสมาชิกรวมตัวกันตั้งเป็นกลุ่มแปลงใหญ่พริกบ้านจานลาน ตำบลจานลานอำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ และมีการจดทะเบียนนิติบุคคล ทำให้มีสมาชิก 82 ราย และเกษตรกรในชุมชนเข้าร่วมปลูกพริกกว่า200 ราย สร้างกำลังการต่อรองราคาสินค้าเกษตรได้ และมีการทำสัญญาซื้อขายการจำหน่ายพริกสดให้กับห้างสรรพสินค้าแม็คโคร เจียไต๋ ตลาดชุมชน พ่อค้าขายส่ง และยังมีการเพิ่มมูลค่าพริกสดโดยแปรรูปเป็นแห้ง และพริกป่น ทำให้มีผลการจำหน่ายผลิตภัณฑ์มีดังนี้
** แม็คโคร                พริกสด                              100,000 บาท/เดือน
** เจียไต๋                   พริกสด                              400,000 บาท/เดือน
** ชุมชน                   พริกสด/พริกแห้ง                  250,000 บาท/เดือน
** พ่อค้าขายส่ง           พริกสด                              960,000 บาท/เดือน
** ออนไลน์                พริกสด/พริกแห้ง/พริกป่น        50,000 บาท/เดือน              
รวมทั้งสินมูลค่าการจำหน่าย 1,760,000 บาท

3. ประโยชน์และความโดดเด่นในการสร้างผลกระทบหรือการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม : ผลิตภัณฑ์หรือบริการมีความโดดเด่นและมีการใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ส่งผลให้เกิดการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม รวมถึงความมั่นคงปลอดภัยสำหรับประชาชนและเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง
โรงเรือนพร้อมระบบน้ำเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต , โรงเรือนอัจฉริยะ ควบคุมโดย Smart Phone , โรงเรือนพลังงานแสงอาทิตย์ และโรงคัดแยกและบรรจุผลิตภัณฑ์ ด้านเศรษฐกิจ : ช่วยให้เกษตรกรสามารถวางแผนการผลิตได้ทันความต้องการของตลาด ลดต้นทุนการผลิต สามารถผลิตสินค้าเกษตรที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP สามารถควบคุมโรคและแมลงศัตรูพืชได้ดี เกษตรกรสามารถตรวจสอบแปลงเกษตรได้ทุกที่ทุกเวลาจากกล้อง ในโรงเรือน ประหยัดเวลา สามารถนำเวลาที่เหลือไปสร้างรายได้ สร้างอาชีพเพิ่มเติมได้ ทำให้เกษตรกรในชุมชนมีรายได้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น สามารถพัฒนาแปรรูปผลิตภัณฑ์สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตร ด้านการศึกษา : สามารถส่งบุตรหลานเข้าเรียนในระดับสูง ๆ ได้โดยไม่ประสบปัญหาทางด้านการเงิน ส่งผลให้ระดับการศึกษาในชุมชนสูงขึ้น ด้านสุขภาพอนามัย : สามารถให้ทำการเกษตรที่ปลอดภัยจากสารเคมีทั้งตัวผู้ผลิตและผู้บริโภค ด้านสิ่งแวดล้อม : สามารถช่วยประหยัดการใช้น้ำทางการเกษตร ส่งเสริมให้เกษตรกรตรวจวิเคราะห์ดิน และปรับปรุงบำรุงดินอย่างสม่ำเสมอ

4. ผลงานเป็นที่ประจักษ์ในระดับชาติ/นานาชาติ : รางวัลที่ได้รับในระดับชาติ /นานาชาติ  (แนบลิงค์)
4.1 ได้รับรางวัลชนะเลิศ ด้าน GAP ระดับเขต จากศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร กรมวิชาการเกษตร และอยู่ระหว่างส่งประกวด ด้าน GAP ระดับประเทศ

Skip to content