ประวัติส่วนตัว นาย นิรันดร์  สมพงษ์ 

ประวัติส่วนตัว
ชื่อ-สกุล : นาย นิรันดร์  สมพงษ์  อายุ 47 ปี
ดำรงตำแหน่ง : ประธานสหกรณ์การเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดิน ส.ป.ก.ปากช่อง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
การศึกษา :  จบการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

๑.ดิจิทัลเทคโนโลยีและนวัตกรรม : มีการวิจัยพัฒนาหรือประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการรูปแบบใหม่ที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมทางธุรกิจหรือบริการ

= นายนิรันดร์จึงคิดค้นและสร้างนวัตกรรม Smart Farm IOT นวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะ ภายใต้ข้อจำกัด 3 ข้อ คือเทคโนโลยีที่นำมาปรับใช้ ต้องมีราคาที่ถูกมาก เกษตรกรรายย่อยสามารถเข้าถึงได้จริงอุปกรณ์ที่ใช้ซ่อมแซม Smart Farm IOT นวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะ ต้องหาง่าย ตามร้านขายอุปกรณ์ทั่วไปเกษตรกรที่ใช้งาน สามารถประกอบติดตั้งและซ่อมแซมด้วยตนเองได้ จึงศึกษาเรื่องการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้โทรศัพท์มือถือควบคุมวาล์วเปิด-ปิดน้ำแบบอัตโนมัติ แต่เมื่อนำไปให้บริษัทคิดราคาเพื่อติดตั้งระบบ บริษัทคิดราคาวาล์วละ 8,000 บาท ซึ่งเห็นว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่สูง จึงคิดหาอุปกรณ์ที่มีขายอยู่ทั่วไปในร้านขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มาประกอบเป็นเครื่องควบคุมการจ่ายน้ำด้วยโทรศัพท์มือถือ โดยใช้แอพพิลเคชั่น E-Welink และใช้เครื่อง Sonoff ควบคุมการสั่งงานผ่านโทรศัพท์มือถือหรือรีโมทคอนโทรล สามารถตั้งเวลาในการเปิด-ปิดน้ำ  (สั่งการด้วยเสียงพูดได้) โดยใช้โทรศัพท์มือถือสั่งเปิด-ปิดน้ำจากที่ไหนก็ได้ที่มีสัญญานอินเตอร์เน็ท ไม่ต้องมาที่แปลง เป็นการนำเอาระบบ IoT (Internet of Things) มาประยุกต์ใช้ โดยลงทุนค่าใช้จ่ายไม่เกิน 350 บาทต่อ 1 วาล์ว ใช้ท่อน้ำพลาสติกขนาดเล็ก 4-6 หุนเพื่อประหยัดงบ ประหยัดน้ำ ไม่ต้องใช้ท่อขนาดใหญ่ และใช้แผงโซล่าร์เซลล์มาเป็นตัวจ่ายไฟ ทำให้ประหยัดค่าไฟฟ้าได้

๒.อัตราการเติบโต : ธุรกิจมีการเจริญเติบโตแบบก้าวกระโดด หรือมีแนวโน้มในการเจริญเติบโตสูง โดยวัดจากการเติบโตของรายได้ หรือการเพิ่มขึ้นของจำนวนฐานลูกค้าหรือผู้ใช้งาน (Traction) หรือความสำเร็จจากการระดมทุน
= ในปี 2562 นายนิรันดร์ได้รับงบสนับสนุนจากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ  depa เพื่อฝึกอบรมการใช้เครื่องควบคุมน้ำด้วยโทรศัพท์มือถือให้แก่สมาชิกสหกรณ์ ฯ จำนวน 60 ครอบครัว เพื่อลดต้นทุนการทำเกษตร ประหยัด เวลาจากเดิมต้องใช้เวลารดน้ำในแปลง 3-4 ชั่วโมงต่อ 1 ครั้ง  เหลือเพียง 15 นาทีต่อครั้ง และใช้เงินลงทุนไม่เกิน 500 บาท (หากจ้างติดตั้งระบบต้องใช้เงินหลักหมื่นบาท) และได้เผยแพร่ความรู้ให้เกษตรกรทั่วไป โดยจัดอบรมแบบออนไซต์ และทำคลิป VDO สอนทางออนไลน์ มีเกษตรกรนำไปใช้มากมาย ผลจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี IoT ทำให้ได้รับรางวัลและใบประกาศยกย่องจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนหลายแห่ง รวมทั้งยังมีผู้ประกอบการธุรกิจการเกษตรหลายรายได้ว่าจ้างไปวางระบบการดูแลแปลงเกษตรโดยใช้โทรศัพท์มือถือควบคุม หรือ ‘Smart Farm IoT’ ปัจจุบันนายนิรันดร์ได้ปรับปรุงระบบ Smart  Farm  IoT นวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะ ให้ทันสมัยตามเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้น  เพื่อให้เทคโนโลยีเข้ามาทำหน้าที่บริหารจัดการพื้นที่ภาคการเกษตรภายใต้ระบบการทำงานที่มีการเขียนโปรแกรมและติดตั้ง ทั้งระบบ AI หรือ DATA BASE ซึ่งจะมาลงมือทำแทนหน้าที่เกษตรกรผ่านการสั่งงานผ่านแอปพลิเคชั่นในมือถือเครื่องเดียว เช่น การควบคุมระบบน้ำ ตรวจสอบความชื้นของดิน ควบคุมระบบไฟฟ้า ควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้นเช่น ใช้เซ็นเชอร์วัดความชื้นและวัดอุณหูมิในดิน โดยเซ็นเซอร์จะประมวลผลแล้วส่งข้อมูลไปที่สมาร์ทโฟน   เกษตรกรจะดูผลว่าดินมีความชื้นมากน้อยขนาดไหน เพื่อควบคุมปริมาณการให้น้ำให้เหมาะสม หากมีความชื้นมาก ปริมาณน้ำที่ให้ก็จะน้อย เป็นการประหยัดการใช้น้ำด้วย นอกจากนี้ยังให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ ปุ๋ยน้ำจากมูลวัว จุลินทรีย์บำรุงพืช หรือจุลินทรีย์ควบคุมแมลง ผ่านระบบ IoT นี้ด้วย “IoT เป็นสิ่งหนึ่งที่จะทำให้คนรุ่นใหม่หันมาสนใจการเกษตร  เพราะช่วยบริหารจัดการแปลงเกษตร ลดเวลา  ลดแรงงาน  ลดต้นทุน  และดูเท่  ทันสมัย  เหมาะกับคนรุ่นใหม่ ได้ผลตอบแทนที่ดี เช่น เกษตรกรในที่ดิน ส.ป.ก.ปากช่อง จะมีรายได้แล้ววันละ  1 พันบาท จากการเก็บผักชะอม  ผักสลัดไปขาย และยังมีผัก  ผลไม้  รายเดือน  มีข้าวโพด  มันสำปะหลังเป็นพืชรายปีอีก

๓.ประโยชน์และความโดดเด่นในการสร้างผลกระทบหรือการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม : ผลิตภัณฑ์หรือบริการมีความโดดเด่นและมีการใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ส่งผลให้เกิดการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม รวมถึงความมั่นคงปลอดภัยสำหรับประชาชนและเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง
= Smart Farm IOT นวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะ ถูกคิดค้นให้ทำหน้าที่บริหารจัดการพื้นที่ภาคการเกษตรภายใต้ระบบการทำงานที่มีการเขียนโปรแกรมและติดตั้ง ทั้งระบบ AI หรือ DATA BASE ซึ่งจะมาลงมือทำแทนหน้าที่เกษตรกรผ่านการสั่งงานผ่านแอปพลิเคชั่นในมือถือเครื่องเดียว เช่น การควบคุมระบบน้ำ ตรวจสอบความชื้นของดิน ควบคุมระบบไฟฟ้า ควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้นเช่น ใช้เซ็นเชอร์วัดความชื้นและวัดอุณหูมิในดิน โดยเซ็นเซอร์จะประมวลผลแล้วส่งข้อมูลไปที่สมาร์ทโฟน   เกษตรกรจะดูผลว่าดินมีความชื้นมากน้อยขนาดไหน เพื่อควบคุมปริมาณการให้น้ำให้เหมาะสม หากมีความชื้นมาก ปริมาณน้ำที่ให้ก็จะน้อย เป็นการประหยัดการใช้น้ำด้วย นอกจากนี้ยังให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ ปุ๋ยน้ำจากมูลวัว จุลินทรีย์บำรุงพืช หรือจุลินทรีย์ควบคุมแมลง ผ่านระบบ IoT นี้ด้วย “IoT เป็นสิ่งหนึ่งที่จะทำให้คนรุ่นใหม่หันมาสนใจการเกษตร  เพราะช่วยบริหารจัดการแปลงเกษตร ลดเวลา  ลดแรงงาน  ลดต้นทุน  และดูเท่  ทันสมัย  เหมาะกับคนรุ่นใหม่ ได้ผลตอบแทนที่ดี ที่สำคัญสามารถออกแบบได้ตรงความต้องการเกษตรกรและเหมาะสมกับแปลงเกษตรกรแต่ละราย และเป็นนวัตกรรมที่มีราคาไม่สูง เกษตรกรสามารถเข้าถึงได้ง่าย


๔.ผลงานเป็นที่ประจักษ์ในระดับชาติ/นานาชาติ : รางวัลที่ได้รับในระดับชาติ /นานาชาติ  (แนบลิงค์)
1. ผลิตภัณฑ์ Smart Farm IOT นวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะ
    2. ได้รับรางวัลชนะเลิศประเภทโครงการเพื่อสังคม ในชื่อผลงาน Smart Farm IOT นวัตกรรมที่เกษตรกรใช้เองได้ จากบริษัทบางจาก คอร์เปอร์เรชั่น จำกัด (มหาชน)
    3. เปิดคอร์สสอน “สร้างเครื่องมือ Smart Farm IOT ใช้เอง” คอร์สละ 1,500 บาท
    4. ลิงค์ : Yputube : พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติ

Skip to content