
ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารนำทีมติดตามนิเทศงาน จังหวัดสงขลา และจังหวัดปัตตานี
วันที่ 13 มกราคม 2568 ดร.สุรางค์ศรี วาเพชร ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
นางสิริลักษณ์ น้อยเคียง ผู้อำนวยการกลุ่มเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ นายวรวุฒิ อ้อยหวาน ผู้อำนวยการกลุ่มระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ เจ้าหน้าที่ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นางสาวเบญจวัลย์ มะลิลา
นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ กองแผนงาน กรมส่งเสริมการเกษตร และเจ้าหน้าที่จากบริษัทที่ได้รับการว่าจ้างบำรุงรักษาระบบอินเทอร์เน็ตให้กรมส่งเสริมการเกษตร ลงพื้นที่ติดตามนิเทศงาน ณ ห้องประชุมสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา โดยมีนายภูวเดช วุฒิวงศ์วัฒ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา พร้อมด้วย
เจ้าหน้าที่ในสังกัดสำนักงานส่งเสริม
และพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา จำนวน 18 ราย เข้าร่วมรับฟัง และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการใช้งานระบบทะเบียนเกษตรกร ระบบวาดผังแปลงเกษตรกรรมดิจิทัล (Geoplots) ระบบสารสนเทศการผลิตทางด้านการเกษตร ระบบอินเตอร์เน็ต
และการวางเครื่องกระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ตภายในสำนักงาน และติดตามผลการจัดทำผังแปลงเกษตรกรรมดิจิทัลและการรับขึ้นทะเบียนเกษตรกรประจำปีงบประมาณ 2568
แล้วเสร็จเดินทางติดตามนิเทศงานดังกล่าว ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลา โดยมีนายประถม มุสิกะรัก เกษตรจังหวัดสงขลา และเจ้าหน้าที่ในสังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลา จำนวน 20 ราย เข้าร่วมรับฟัง และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
วันที่ 14 มกราคม 2568 ทีมนิเทศฯ เดินทางติดตามนิเทศงานดังกล่าว ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา โดยมีนายอาซราน เต๊ะสอ เกษตรอำเภอเทพา และเจ้าหน้าที่ในสังกัดสำนักงานเกษตรอำเภอเทพา จำนวน 22 ราย เข้าร่วมรับฟัง
และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น พร้อมร่วมลงพื้นที่สุ่มตรวจสอบผังแปลงเกษตรกรรมดิจิทัลที่เสียหายจากอุทกภัย_ข้าว ทุเรียน ยางพารา นอกจากนี้ยังได้แนะนำการใช้งานระบบแผนที่รายงานสถานการณ์พื้นที่ประสบอุทกภัยด้านพืช (DOAE Flood Map) พร้อมให้เจ้าหน้าที่ทดสอบการใช้งานระบบ ซึ่งเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ได้ให้การตอบรับที่ดี และเห็นว่าสามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการลงสำรวจตรวจสอบความเสียหายในพื้นที่ก่อนบันทึกแบบยื่นความจำนงขอรับการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติด้านพืช (กษ 01) ลงในระบบข้อมูลเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติด้านพืช ทำให้ลดระยะเวลาการทำงานลง
วันที่ 15 มกราคม 2568 ดร.สุรางค์ศรี วาเพชร ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นางสิริลักษณ์ น้อยเคียง
ผู้อำนวยการกลุ่มเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ นายวรวุฒิ อ้อยหวาน ผู้อำนวยการกลุ่มระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ เจ้าหน้าที่ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมส่งเสริมการเกษตร และเจ้าหน้าที่จากบริษัทที่ได้รับการว่าจ้างบำรุงรักษาระบบอินเทอร์เน็ตให้กรมส่งเสริมการเกษตร ลงพื้นที่ติดตามนิเทศงาน ณ ห้องประชุมสำนักงานจังหวัดปัตตานี โดยมีนายปัทพงศ์ สารบรรณ์ เกษตรจังหวัดปัตตานี เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอ จำนวน 12 อำเภอ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ในสังกัดสำนักงานจังหวัดปัตตานี จำนวน 26 ราย เข้าร่วมรับฟัง และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการใช้งานระบบทะเบียนเกษตรกร ระบบวาดผังแปลงเกษตรกรรมดิจิทัล (Geoplots) ระบบสารสนเทศการผลิตทางด้านการเกษตร ระบบอินเตอร์เน็ตและการวางเครื่องกระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ตภายในสำนักงาน และติดตามผลการจัดทำผังแปลงเกษตรกรรมดิจิทัลและการรับขึ้นทะเบียนเกษตรกรประจำปีงบประมาณ 2568 นอกจากนี้ยังได้แนะนำการใช้งานระบบแผนที่รายงานสถานการณ์พื้นที่ประสบอุทกภัยด้านพืช (DOAE Flood Map) พร้อมให้เจ้าหน้าที่ทดสอบการใช้งานระบบ
แล้วเสร็จทีมนิเทศฯ ร่วมลงพื้นที่ตรวจสอบกาววาดผังแปลงเกษตรกรรมดิจิทัล_นาเกลือ ณ อำเภอเมืองปัตตานี
วันที่ 16 มกราคม 2568 ทีมนิเทศฯ เดินทางติดตามนิเทศงานดังกล่าว ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี โดยมีนายมานิต แก้วพิบูลย์ เกษตรอำเภอโคกโพธิ์ และเจ้าหน้าที่ในสังกัดสำนักงานเกษตรอำเภอโคกโพธิ์ จำนวน 14 ราย เข้าร่วมรับฟัง และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แล้วเสร็จร่วมลงพื้นที่สุ่มตรวจสอบผังแปลงเกษตรกรรมดิจิทัลที่เสียหายจากอุทกภัย_ข้าว ทุเรียน ยางพารา นอกจากนี้ยังได้แนะนำการใช้งานระบบแผนที่รายงานสถานการณ์พื้นที่ประสบอุทกภัยด้านพืช (DOAE Flood Map)
พร้อมให้เจ้าหน้าที่ทดสอบการใช้งานระบบ ซึ่งเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ได้ให้การตอบรับที่ดี พร้อมเสนอแนะเพิ่มเครื่องมือแสดงจุดพิกัดปัจจุบัน และข้อมูลแปลงทั้งหมดที่ขึ้นทะเบียนเกษตร เห็นว่าสามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการลงสำรวจตรวจสอบความเสียหายในพื้นที่ก่อนบันทึกแบบยื่นความจำนงขอรับการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติด้านพืช (กษ 01) ลงในระบบข้อมูลเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติด้านพืช จะเป็นการช่วยให้เจ้าหน้าที่พื้นที่ง่ายต่อการทำงานและวางแผนรับมือภัยดังกล่าว