วันที่ 4 – 15 มีนาคม 2567 ทีมนักวิจัยกรมส่งเสริมการเกษตรตรวจจริง ลงสำรวจพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง จากผลแบบจำลองความเสี่ยงภัยแล้งในพื้นที่เกษตรจากข้อมูลดาวเทียม ณ จังหวัดสุรินทร์ นครราชสีมา ร้อยเอ็ด และจังหวัดสกลนคร
นักวิจัยจากศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมกับสำนักพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์กรมหาชน) สำนักปลัดกระทรงเกษตรและสหกรณ์ กรมชลประทาน กรมอุตุนิยมวิทยา สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ดำเนินการวิจัย “โครงการประเมินพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งและความเสียหายของพืชเกษตรรายแปลง ด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ระยะที่ 2” ใน 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร อุทัยธานี นครราชสีมา สุรินทร์ ร้อยเอ็ด สกลนคร สุพรรณบุรี พิจิตร และจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อพัฒนาแบบจำลองด้วยข้อมูลดาวเทียมในการติดตามและประเมินผลในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งและประเมินความเสียหายของพืชเกษตรรายแปลงในพื้นที่ และนักวิจัยจากศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นำโดยนายสรายุทธ สิริภูษิต ผู้อำนวยการกลุ่มวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ นางอนงค์นาฏ ศรีรัตนา ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนานวัตกรรมดิจิทัล นางสิริลักษณ์ น้อยเคียง ผู้อำนวยการกลุ่มเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ และทีมนักวิจัยกรมส่งเสริมการเกษตรทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ได้ลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูลมาใช้ยืนยัน เปรียบเทียบผลของแบบจำลองพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลดาวเทียม และตรวจสอบผลความถูกต้องของแบบจำลอง พร้อมกันนี้ ได้ร่วมกันจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้แพลตฟอร์มการประเมินพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งและความเสียหายของพืชเกษตรรายแปลง ด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ หรือที่เรียกว่า แอปเช็คแล้ง ดังนี้
วันที่ 1 มีนาคม 2567 อบรม ณ จังหวัดอุทัยธานี
วันที่ 5 – 8 มีนาคม 2567 อบรม ณ จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดนครราชสีมา
วันที่ 12 – 15 มีนาคม 2567 อบรม ณ จังหวัดร้อยเอ็ด สกลนคร กำแพงเพชร และจังหวัดพิจิตร
และวันที่ 18 – 22 มีนาคม 2567 อบรม ณ จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดสุพรรณบุรี