ข่าวประชาสัมพันธ์
ติดตามสร้างการรับรู้งานวิจัยแล้งที่อีสานใต้

ติดตามสร้างการรับรู้งานวิจัยแล้งที่อีสานใต้

วันที่ 31 กรกฎาคม ถึงวันที่ 2 สิงหาคม 2567 นางสาวสายใจ บึงไกล นักวิชาการแผนที่ภาพถ่ายชำนาญการ นายอาชัญ จันทร์ถาวร นักวิชาการแผนที่ภาพถ่ายปฏิบัติการ และนางสาวจณิสตา หงษ์คำเมือง นักสถิติ ทีมนักวิจัย กลุ่มเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมส่งเสริมการเกษตร ลงพื้นที่ติดตามนิเทศงาน “โครงการประเมินพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง
และความเสียหายของพืชเกษตรรายแปลง ด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ระยะที่ 2”  ณ จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดนครราชสีมา
โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

1. เพื่อสร้างการรับรู้การร่วมดำเนินการวิจัย ของเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร ที่ร่วมเป็นผู้ช่วยนักวิจัยในโครงการ

 2. เพื่อสร้างความเข้าใจในการใช้จ่ายเงินอุดหนุนการวิจัย

 3. เพื่อส่งเสริมการใช้งานแพลตฟอร์มเช็คแล้งให้กับหน่วยงานในพื้นที่มีความเชื่อมั่นในการใช้ข้อมูลก่อนจะขยายผลไปสู่ผู้ใช้งาน
อื่น ๆ ทั้งในและนอกกรมส่งเสริมการเกษตร และเกษตรกร

1. วันที่ 31 กรกฎาคม 2567 ทีมนักวิจัย ติดตามนิเทศงานฯ จังหวัดสุรินทร์ โดยมีนางสกาวรัตน์ ทัดศรี เกษตรอำเภอท่าตูม พร้อมด้วยผู้ช่วยนักวิจัย สำนักงานเกษตรจังหวัดสุรินทร์ และสำนักงานเกษตรอำเภอท่าตูม จำนวน 8 ราย เข้าร่วม ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรอำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ แล้วเสร็จลงพื้นที่แนะนำการใช้เครื่องมือตรวจวัดความชื้นในดินแบบพกพา ในแปลงเกษตร 4 ชนิดพืช ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน และมันสำปะหลังโรงงาน เพื่อตรวจสอบความแม่นยำของค่าดัชนีเสี่ยงภัยแล้ง (DRI) ค่าดัชนีพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งต่อเนื่อง (DSI) และค่าดัชนีประเมินความเสียหายของพืช (CDAI) ที่ได้จากการวิจัยในโครงการ
ณ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์

2. วันที่ 1 สิงหาคม 2567 ทีมนักวิจัย ติดตามนิเทศงานฯ จังหวัดนครราชสีมา โดยนางสมพิส ทองดีนอก เกษตรจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วยผู้ช่วยนักวิจัย สำนักงานเกษตรจังหวัดนครราชสีมา สำนักงานเกษตรอำเภอด่านขุนทด สำนักงานเกษตรอำเภอโนนสูง และสำนักงานเกษตรอำเภอคง จำนวน 10 ราย เข้าร่วม ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา แล้วเสร็จลงพื้นที่แนะนำการใช้เครื่องมือตรวจวัดความชื้นในดินแบบพกพา ในแปลงเกษตร 4 ชนิดพืช ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน และมันสำปะหลังโรงงาน เพื่อตรวจสอบความแม่นยำของค่าดัชนีเสี่ยงภัยแล้ง (DRI) ค่าดัชนีพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งต่อเนื่อง (DSI) และค่าดัชนีประเมินความเสียหายของพืช (CDAI) ที่ได้จากการวิจัยในโครงการ ณ อำเภอโนนสูง
จังหวัดนครราชสีมา

Skip to content