ข่าวประชาสัมพันธ์
วิจัยแล้งต้องได้มาตรฐานเดียวกัน

วิจัยแล้งต้องได้มาตรฐานเดียวกัน

วันที่ 15 – 19 กรกฎาคม 2567 นางสาวสายใจ บึงไกล นักวิชาการแผนที่ภาพถ่ายชำนาญการ และนางสาวภิญญาพัชญ์ พิบูลวิวัฒน์ เจ้าหน้าที่แผนที่ภาพถ่าย ทีมนักวิจัย กลุ่มเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมส่งเสริมการเกษตร ลงพื้นที่ติดตามนิเทศงาน “โครงการประเมินพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งและความเสียหายของพืชเกษตรรายแปลง ด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ระยะที่ 2”  ณ จังหวัดกำแพงเพชร พิจิตร และจังหวัดนครสวรรค์ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

1. เพื่อสร้างการรับรู้การร่วมดำเนินการวิจัย ของเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร ที่ร่วมเป็นผู้ช่วยนักวิจัยในโครงการ

2. เพื่อสร้างความเข้าใจในการใช้จ่ายเงินอุดหนุนการวิจัย

 3. เพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมการใช้งานแพลตฟอร์มเช็คแล้งในหน่วยงานส่วนกลาง และพื้นที่ ที่ทีมนักวิจัยจะต้องสร้างความเชื่อมั่นในการใช้ข้อมูลก่อนจะขยายผลไปสู่ผู้ใช้งานอื่น ๆ ทั้งในและนอกกรมส่งเสริมการเกษตร และเกษตรกรได้รับประโยชน์สูงสุด

1. วันที่ 15 กรกฎาคม 2567 ทีมนักวิจัย ติดตามนิเทศงานฯ จังหวัดกำแพงเพชร โดยมีนายนายภูมิรพี ขัดเกลา เกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร พร้อมด้วยผู้ช่วยนักวิจัยสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร สำนักงานเกษตรอำเภอเมือง สำนักงานเกษตรอำเภอโกสัมพีนคร และสำนักงานเกษตรอำเภอคลองขลุง จำนวน 7 ราย เข้าร่วม ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร     และ วันที่ 16 กรกฎาคม 2567 ทีมนักวิจัยและผู้ช่วยนักวิจัยสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ลงพื้นที่แนะนำการใช้เครื่องมือตรวจวัดความชื้นในดินแบบพกพา ในแปลงเกษตร 4 ชนิดพืช ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน และมันสำปะหลังโรงงาน เพื่อตรวจสอบความแม่นยำของค่าดัชนีเสี่ยงภัยแล้ง (DRI) ค่าดัชนีพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งต่อเนื่อง (DSI) และค่าดัชนีประเมินความเสียหายของพืช (CDAI) ที่ได้จากการวิจัยในโครงการฯ ณ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร

2. วันที่ 17 กรกฎาคม 2567 ทีมนักวิจัย ติดตามนิเทศงานฯ จังหวัดพิจิตร โดยมีนางขวัญกมล จันทร์มาทอง เกษตรอำเภอสากเหล็ก พร้อมด้วยผู้ช่วยนักวิจัย สำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร สำนักงานเกษตรอำเภอสากเหล็ก สำนักงานเกษตรอำเภอทับคล้อ สำนักงานเกษตรอำเภอวังทรายพูน และสำนักงานเกษตรอำเภอดงเจริญ จำนวน 9 ราย เข้าร่วม ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรอำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร แล้วเสร็จลงพื้นที่แนะนำการใช้เครื่องมือตรวจวัดความชื้นในดินแบบพกพา ในแปลงเกษตร 4 ชนิดพืช ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน และมันสำปะหลังโรงงาน เพื่อตรวจสอบความแม่นยำของค่าดัชนีเสี่ยงภัยแล้ง (DRI) ค่าดัชนีพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งต่อเนื่อง (DSI) และค่าดัชนีประเมินความเสียหายของพืช (CDAI) ที่ได้จากการวิจัยในโครงการ ณ อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร

3. วันที่ 18 กรกฎาคม 2567 ทีมนักวิจัย ติดตามนิเทศงานฯ จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีนายจินิโรจน์ พวงสมบัติ เกษตรอำเภอชุมแสง พร้อมด้วยผู้ช่วยนักวิจัย สำนักงานเกษตรจังหวัดนครสวรรค์ สำนักงานเกษตรอำเภอชุมแสง สำนักงานเกษตรอำเภอตาคลี และสำนักงานเกษตรอำเภอท่าตะโก จำนวน 8 ราย เข้าร่วม ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรอำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ แล้วเสร็จลงพื้นที่แนะนำการใช้เครื่องมือตรวจวัดความชื้นในดินแบบพกพา ในแปลงเกษตร 4 ชนิดพืช ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน และมันสำปะหลังโรงงาน เพื่อตรวจสอบความแม่นยำของค่าดัชนีเสี่ยงภัยแล้ง (DRI) ค่าดัชนีพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งต่อเนื่อง (DSI) และค่าดัชนีประเมินความเสียหายของพืช (CDAI) ที่ได้จากการวิจัยในโครงการ ณ อำเภอชุมแสง และอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์

Skip to content